ในขั้นตอนของการหางานที่ส่วนใหญ่แล้วแทบจะทุกคนจะต้องผ่านด่านนี้ นั่นก็คือ การสัมภาษณ์งาน ซึ่งบ้างครั้งคุณเองอาจคิดว่าได้เตรียมตัวมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่กลับไม่ได้งานนั้น นั้นหมายถึงคุณย่อมเกิดความบกพร่องบางอย่างที่ในระหว่างการสัมภาษณ์งานอยู่
ลองมาดูกันว่า คุณได้คุณได้เตรียมตัวเพื่อการสัมภาษณ์งานดีหรือยัง ตามข้อปฏิบัติดังนี้
1. แต่งตัวให้เป็นมืออาชีพ
การทำให้ผู้สัมภาษณ์เกิดความประทับใจ ต้องเริ่มจากการมีบุคลิกภาพที่ดีเสียก่อน ควรแต่งกายให้สุภาพ เป็นทางการ ใส่รองเท้าหุ้มข้อ จัดแต่งทรงผมให้เรียบร้อย
รวมทั้งดูแลเรื่องความสะอาดตั้งแต่หัวจรดเท้าด้วย นอกจากจะเป็นการให้เกียรติผู้สัมภาษณ์แล้ว ยังทำให้คุณดูเป็นมืออาชีพอีกด้วย และอีกข้อควรระวังคือ ควรปิดโทรศัพท์มือถือระหว่างการสัมภาษณ์
2.ตรงต่อเวลา
คุณควรกะเวลาเดินทางให้ดี เผื่อเวลารถติดไว้ด้วย ควรศึกษาเส้นทางเสียก่อนถ้าคุณยังไม่ชำนาญ แนะนำว่าควรไปก่อนเวลานัดสัมภาษณ์อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป เพื่อที่จะได้เตรียมตัว และทำความคุ้นเคยกับสถานที่ เพื่อไม่ให้ประหม่าจนเกินไป
3. เตรียมเอกสารสมัครงานให้พร้อม
เช่น รูปถ่าย สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ถ่ายสำเนาประวัติส่วนตัว (Resume) หลักฐานการศึกษาต่างๆ รวมทั้งผลงานที่ผ่านมาของคุณ ในกรณีคุณที่จำเป็นต้องแสดงผลงานให้ผู้สัมภาษณ์พิจารณาด้วย
4. การตอบคำถาม
ตอบคำถามด้วยท่าทางที่ดูกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา และอย่าพูดเร็วเกินไป ไม่ควรพูดสอดขึ้นมากลางคัน หลีกเลี่ยงการตอบคำถามสั้นๆ ด้วยคำว่า ?ค่ะ/ครับ? แต่ควรแสดงความสนใจในคำถาม ด้วยการตอบให้เต็มประโยค และแสดงความคิดเห็นเท่าที่จำเป็น
5.เตรียมคำถาม
ส่วนใหญ่ผู้สัมภาษณ์มักเปิดโอกาสให้ถามในช่วงท้ายๆ ของการสัมภาษณ์ คุณควรเตรียมคำถามไปด้วย ซึ่งคำถามนี้อาจจะเกี่ยวกับลักษณะงานที่คุณสมัคร เพื่อช่วยคุณตัดสินใจ และเข้าใจงานที่คุณกำลังสัมภาษณ์นี้มากขึ้น
6.ห้ามพาดพิง
หรือพูดแสดงความคิดเห็นถึงเจ้านายเก่าในแง่ลบ เพราะจะเป็นการแสดงทัศนคติที่ไม่ดีของคุณต่อบุคคลอื่น เหมือนว่าเอาผู้อื่นมาวิจารณ์ในทางที่เสียหาย ถ้าคุณไม่ชอบใจเจ้านายเก่า ควรหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงเลยจะดีกว่า
7.การแสดงความคิดเห็น
ไม่ควรแสดงความคิดเห็นในเรื่องต้องห้าม 3 อย่าง ได้แก่ ความเชื่อ การเมือง และศาสนา เพราะเป็นเรื่องของความเชื่อ ความชื่นชอบส่วนบุคคล ซึ่งผู้สัมภาษณ์อาจจะมีความเชื่อต่างจากคุณก็ได้
8.ควบคุมอารมณ์ให้ดี
ไม่ควรแสดงความรู้สึกในด้านลบของคุณออกมา เช่น อารมณ์โกรธ ประหม่า เสียใจ ฯลฯ ผู้สัมภาษณ์บางคนอาจจะอยากรู้ว่าคุณเป็นควบคุมอารมณ์ได้ดีหรือไม่ ด้วยการลองถามคำถาม หรือพูดเพื่อยั่วยุให้คุณโกรธ ซึ่งคุณก็ไม่ควรโต้ตอบด้วยอารมณ์
9.อย่าลืมคำว่า ?สวัสดี? และ ?ขอบคุณ?
เมื่อก้าวผ่านประตูห้องสัมภาษณ์ควรยกมือไหว้ และกล่าว ?สวัสดีค่ะ/ครับ? ต่อผู้สัมภาษณ์ เพื่อแสดงความนอบน้อม และมารยาทที่ดี ไม่ว่าผู้สัมภาษณ์จะดูอ่อนวัย หรือตำแหน่งด้อยกว่าคุณก็ตาม และเมื่อสัมภาษณ์เสร็จก็ควรยกมือไหว้ และกล่าวคำว่า ?ขอบคุณค่ะ/ครับ? ด้วย
10.ต้องเผชิญหน้า
เมื่อคุณต้องเผชิญหน้า?อย่าหลบตา ใช้สายตามองไปที่ผู้สอบสัมภาษณ์ เป็นการแสดงความจริงใจและความตั้งใจจริงของคุณ
11.ตั้งใจฟังคำถาม
ช่วงที่เข้าสอบสัมภาษณ์คุณอาจตีความหมายของคำถามผิด ๆ เนื่องจากกำลังตื่นเต้น และประหม่า คุณจึงขาดสมาธิ ดังนั้นจึงให้ตั้งใจฟังคำถาม และคิดทบทวนคำถามอีกครั้งก่อนที่ตอบคำถามด้วยความมั่นใจ
12.มั่นใจในคำตอบ
ควรตอบคำถามด้วยความมั่นใจ และให้คำตอบสั้น ๆ แต่ได้ใจความ อย่าสาธยายคำตอบจนหาที่จบไม่ได้ ควรตอบให้ตรงประเด็นที่สุด
13.ยกตัวอย่างอธิบาย
เป็นการยืนยันคำตอบของคุณ เช่นเล่าเรื่องประสบการณ์ที่คุณเคยผ่านมา หรือเล่าถึงงาน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่คุณเคยทำมาแล้ว
14.เก็บอารมณ์ความรู้สึก
คำถามของผู้สัมภาษณ์บางส่วน อาจหลอกล่อ เพื่อสร้างความตึงเครียด สร้างภาวะกดดัน จนผู้สมัครเสียศูนย์ ควบคุมความสมดุลของอารมณ์ไม่ได้ จนเปิดเผยตัวตนที่แท้จริงด้วยความลืมตัว ฉะนั้น คุณควรยิ้มและใจเย็นที่สูดในการตอบข้อซักถาม
15.นำเสนอความเป็นตัวเองมากที่สุด
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญทีสุดของการสัมภาษณ์ แสดงให้เห็นว่าคุณเป็นคนอย่างไร และมีความเชื่อมั่นในตนเองมาแค่ไหน
ขอให้โชคดีในการสมัครงานคะ