สัมภาษณ์อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ
การสัมภาษณ์งานเป็นการสนทนาเชิงกลยุทธ์อย่างหนึ่งที่มีเป้าหมายเป้าหมายของคุณคือจูงใจนายจ้างว่าคุณมีทักษะความชำนาญ พื้นฐาน ความสามารถที่จะทำงานและคุณเหมาะสมอย่างลงตัวในบริษัทของเขา การสัมภาษณ์ในขณะเดียวกัน คุณควรรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงาน โอกาสอาชีพในอนาคต และบริษัทเพื่อตัดสินใจว่าตำแหน่งและสภาพแวดล้อมของงานเหมาะสมกับคุณไหม

บุคลิกภาพ ความมั่นใจ ความกระตือรือร้น ภาพที่เป็นบวก การพูดคุยอย่างชาญฉลาดและทักษะการสื่อสารมีค่าอย่างมาก เป็นกระบวนการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจูงใจนายจ้างให้เขาเสนองานให้กับผู้สมัครและนายจ้างก็จะเลือกบุคคลที่เหมาะสมเท่านั้น

กุญแจสู่ความสำเร็จประการแรกคือการใช้ทุกวิธีในการดำเนินการเพื่อพัฒนาทักษะการสัมภาษณ์อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกการนำเสนอของปูมหลังของคุณ ตอบอย่างมีความคิด คำถามที่คิดค้นมาอย่างดีเกี่ยวกับบริษัท และกลยุทธ์การตลาดขายตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ มันเป็นทักษะที่สามารถเรียนรู้และปรับปรุงได้ด้วยการฝึกฝน

กุญแจสู่ความสำเร็จประการที่สองคือการสบค้นอย่างรอบคอบเกี่ยวกับงานและองค์กร ตัวแทน หรือบริษัทที่คุณกำลังจะไปสัมภาษณ์ การรู้เกี่ยวกับงานจะช่วยให้คุณเตรียมคุณสมบัติของคุณได้ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นว่าทำไมคุณจึงเป็นผู้สมัครที่ดีที่สุด การรู้เกี่ยวกับนายจ้างจะช่วยให้คุณเตรียมกลยุทธ์การสัมภาษณ์และคำถามที่เหมาะสมและประเด็นที่จะเน้นได้

คำแนะนำการสัมภาษณ์

จงเตรียมตัวทำการตลาดนำเสนอทักษะและประสบการณ์ของคุณที่เกี่ยวข้องกับงาน เพื่อกำหนดตำแหน่งตัวเองในใจของนายจ้างในฐานะบุคคลที่มีลักษณะและคุณลักษณะที่จัดมาพิเศษ นายจ้างมีปัญหาที่จำเป็นต้องถูกแก้โดยลูกจ้างที่มีทักษะความชำนาญพิเศษ ให้บรรยายถึงคุณสมบัติของคุณอย่างเหมาะสม

- วางแผนให้ไปถึงที่สัมภาษณ์ของคุณล่วงหน้า 10-15 นาทีก่อนเวลานัดหมายการมาถึงเร็วเกินไปทำให้นายจ้างสับสนและสถานการณ์ที่น่าอึดอัดใจ ในขณะเดียวกัน การมาสายเป็นการสร้างความประทับใจแรกที่เลวร้าย
- นำประวัติย่อ และคำถามที่คุณต้องถาม-ตอบมาด้วย ตรวจดูรายชื่อคำถาม ของคุณเพื่อให้แน่ในว่าคุณได้รวบรวมข้อมูลที่คุณต้องทำการตัดสินใจแล้วเพื่อใช้ระหว่างการสัมภาษณ์
- หลังการสัมภาษณ์ หาเวลาเขียนชื่อและคำนำหน้าของผู้สัมภาษณ์คุณทุกคน ความประทับใจของคุณ คำถามและข้อมูลที่ได้รับ เหล่านี้ จะช่วยให้คุณเก็บคำจำกัดความของนายจ้างและสถานการณ์ได้อย่างชัดเจน
ติดตามการสัมภาษณ์ด้วยจดหมายขอบคุณ ผู้ว่าจ้างจะถือว่านี่เป็นหลักฐานของการเข้าร่วมของคุณ เท่าๆ กับเป็นตัวบ่งบอกความในในของคุณในตำแหน่งงาน

BuddyJob.com © Copyright 2004-2024 All right reserved. | ข้อตกลงการใช้บริการ |