ประสบการณ์ทั้งหมด : |
8 ปี |
1. ประสบการณ์ทำงาน |
เริ่มจาก : |
สิงหาคม 2561 ถึง ธันวาคม 2563 |
บริษัท : |
ไม่เปิดเผย |
ที่อยู่บริษัท : |
19/1-2 อาคารวังเด็ก3 ชั้น7 ห้องเลขที่7D แขวงจอมพล เขตจตุจักร กทม. |
ตำแหน่ง : |
เจ้าหน้าที่มวลชนสัมพันธ์ |
เงินเดือน : |
ไม่เปิดเผย บาท |
ลักษณะงานที่ทำ : |
- จัดทำแผนงานการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน สำหรับประกอบการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็น สำหรับประกอบการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
- สรุปผลการจัดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นเพื่อจัดทำรายงานฯ และวิเคราะห์ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ นำไปสู่การจัดทำมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม
- ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจสภาพเศรษฐกิจ-สังคม กลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (หน่วยงานส่วนกลาง และหน่วยงานท้องถิ่น) ผู้นำชุมชน พื้นที่อ่อนไหว ประชาชนรายครัวเรือน ในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรรอบที่ตั้งโครงการ สำหรับประกอบการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
- วิเคราะห์ข้อมูทางสถิติเพื่อนำผลการสำรวจความคิดเห็นสภาพเศรษฐกิจ-สังคม และความคิดเห็นต่อโครงการ ไปจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อจัดทำมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามข้อห่วงกังวลจากผลการศึกษา
- จัดทำรายงานสภาพสิ่งแวดล้อมทั่วไปของพื้นที่ สำหรับประกอบการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
- จัดทำรายงานสภาพสิ่งแวดล้อม ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) (สภาพกายภาพของพื้นที่ ประสานงาน Lab และสรุปผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น คุณภาพอากาศ ระดับเสียง คุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพน้ำใต้ดิน เป็นต้น
|
2. ประสบการณ์ทำงาน |
เริ่มจาก : |
มิถุนายน 2556 ถึง พฤษภาคม 2561 |
บริษัท : |
ไม่เปิดเผย |
ที่อยู่บริษัท : |
196/9 ซอยราชวิถี4 ถนนราชวิถี แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. |
ตำแหน่ง : |
เจ้าหน้าที่มวลชน/ชุมชนสัมพันธ์และกิจการเพื่อสังคม และ นักวิจัย |
เงินเดือน : |
ไม่เปิดเผย บาท |
ลักษณะงานที่ทำ : |
โครงการที่รับผิดชอบ คือ เมืองน่าอยู่ แห่งความสุข ดำเนินการในพื้นที่ที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจ ทั้งหมด 4 พื้นที่ ประกอบด้วย
1) สิงหาคม 2556 มิถุนายน 2557 เทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
2) สิงหาคม 2557 มีนาคม 2558 เทศบาลตำบลลำลูกกา อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
3) พฤษภาคม 2558 มีนาคม 2559 เทศบาลตำบลบางละมุง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
4) ตุลาคม 2558 เมษายน 2561 เทศบาลเมืองสิงหนคร อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
- ลงพื้นที่ทำวิจัยศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ด้วยการฝังตัวเพื่อเก็บข้อมูล ทั้งจากการสัมภาษณ์ผู้นำอย่างเป็นทางการ และผู้นำทางธรรมชาติ โดยใช้เทคนิคการ Snow Ball จากบุคคลที่เป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ ขยายไปยังกลุ่มคนต่างๆที่อยู่เบื้องหลังกิจกรรมการพัฒนาต่างๆในพื้นที่
- สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีทัศนคติที่ดีต่อแหล่งทุน
- ออกแบบกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับหน่วยงานในพื้นที่
- จัดเวทีประชาคม ด้วยการเชิญทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคชุมชน ในพื้นที่ให้เกิดการระดมความคิดเห็น และแลกเปลี่ยน เพื่อสร้างภาพฝันเมืองน่าอยู่ร่วมกัน
- บริหารโครงการ วิเคราะห์และร่างยุทธศาสตร์ ซึ่งมาจากการมีส่วนร่วมระดมความคิดเห็นของทุกภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ให้ออกแบบวิสัยทัศน์ พันธกิจ และยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ด้วยการนำภาพฝัน และปัญหาในพื้นที่มาวิเคราะห์
- เป็นผู้นำกระบวนการกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการทำกิจกรรมพัฒนาในพื้นที่ ตั้งแต่การออกแบบวางแผน ลงมือปฏิบัติ และติดตามประเมินผล ถอดบทเรียน โดยเน้นการใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดคุณประโยชน์สูงสุด และเน้นกระบวนการสร้างจิตอาสาในชุมชนมากกว่าการจ้างแรงงานจากภายนอก
- เป็นผู้ประสานงานและอำนวยความสะดวกในทุกขั้นตอนของทุกกิจกรรมการพัฒนาในพื้นที่ ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน โดยจะสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือ เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพ และความสนใจของเครือข่ายเป็นรายบุคคล เพื่อค้นหาแนวทางและรูปแบบการจัดตั้งคณะทำงานให้เป็นผู้ขับเคลื่อนงานในพื้นที่ต่อเนื่องตามศักยภาพของแต่ละคน
- ถอดบทเรียนการทำงาน จัดทำชุดข้อมูล ชุดความรู้ของทุกกิจกรรม และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานส่งหน่วยงาน
|
3. ประสบการณ์ทำงาน |
เริ่มจาก : |
สิงหาคม 2555 ถึง มิถุนายน 2556 |
บริษัท : |
ไม่เปิดเผย |
ที่อยู่บริษัท : |
196/9 ซอยราชวิถี4 ถนนราชวิถี แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. |
ตำแหน่ง : |
ผู้ช่วยนักวิจัย และ ผู้ประสานงาน |
เงินเดือน : |
ไม่เปิดเผย บาท |
ลักษณะงานที่ทำ : |
โครงการที่รับผิดชอบ คือ ปฏิบัติการแก้จน แก้จริง ทำนา 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสนบาท เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หอการค้าไทย กรมปฏิรูปที่ดิน และ ธ.ก.ส. โดย มีสมาคมเครือข่ายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหน่วยงานทำวิจัยถอดองค์ความรู้
- ทำหน้าที่ลงพื้นที่ฝังตัวเก็บข้อมูลในพื้นที่ดำเนินโครงการ 5 เดือน (ตั้งแต่เริ่มต้น จน สิ้นสุดโครงการ)
- ถอดชุดความรู้ เทคนิคภาคทฤษฎีจากการสอนของวิทยากร หรือ อาจารย์พี่เลี้ยง
- ถอดชุดความรู้จากประสบการณ์ของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 85 คน เพื่อจัดทำองค์ความรู้จากการลงมือปฏิบัติ
- สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการฯทุกคน เพื่อวิเคราะห์ผลเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมการใช้ชีวิต กับผลผลิตในแปลงนา
- เขียนชุดความรู้ของโครงการฯ และเรื่องราวของผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน
- จัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการส่งหน่วยงาน
|